ที่มาของเรื่อง
สันนิษฐานว่า
พบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาและถือว่าเป็นมหาเวสสันดรชาดกที่แปลแล้วนำมาแต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรกคือ
มหาชาติคำหลวง
ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระกรุณาโปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยแปลและเรียบเรียงขึ้นเมื่อ
พ.ศ.๒๐๒๕ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตเรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ เรียกว่า กาพย์มหาชาติ แต่งแปลเป็นภาษาไทยใช้ฉันทลักษณ์เดียวคือ ร่ายยาว
เพื่อใช้สำหรับเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาได้ฟังกัน
เนื้อเรื่องย่อ
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร มี ๑๙ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร |
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ มี ๑๓๔
พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ |
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ มี ๒๐๙ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ |
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ มี ๕๗ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก มี ๗๙ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก |
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน มี ๓๕ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล มี ๘๐ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร มี ๑๐๑ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร |
กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี มี ๙๐ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ มี ๔๓
พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช มี ๖๙ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช |
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ มี ๓๖
พระคาถา
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต
เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี
จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา
ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ
รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน
พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ มี ๔๘ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ |
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ มี ๔๘ พระคาถา
หกกษัตริย์ยกพลกลับคืนพระนคร พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด
พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร
เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง
ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน
พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗
ประการตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง
พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง
ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ
ข้อคิดที่ได้รับ
ข้อคิดในกัณฑ์ทศพร
การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์นั้น ตั้งกัลยาณจิตอธิษฐาน เป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ และความ
ปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์มีศีลห้าเป็นต้น กล่าวคือ
๑. ต้องกระทำความดี
๒. ต้องรักษาความดีนั้นไว้
๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น
การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์นั้น ตั้งกัลยาณจิตอธิษฐาน เป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ และความ
ปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์มีศีลห้าเป็นต้น กล่าวคือ
๑. ต้องกระทำความดี
๒. ต้องรักษาความดีนั้นไว้
๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น
ข้อคิดในกัณฑ์หิมพานต์
๑. คนดีเกิดที่ไหนไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ทำดีหรือเปล่า
๒. การเสียสละแบ่งปันเป็นหัวใจของการสร้างสรรค์สังคม
๓. การทำดีบางครั้งอาจมีอุปสรรค
๔. ความเห็นแก่ตัว เป็นภัยอันยิ่งใหญ่ของการอยู่ร่วมกัน
๕. การเลือกคู่ครองที่ดีให้ดูมัทรีเป็นแบบอย่าง ไม่หลงระเริงในยามสุข ไม่ละเลยคู่ทุกข์ในยามยาก
ข้อคิดในทานกัณฑ์
๑. ยามมีเขายก ยามหมดเขาหยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขมขื่น
๒. ความรักของแม่ความห่วงใยของเมีย ยิ่งใหญ่กว่ารักและห่วงใยของใครๆ ในโลก
๓. เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ผู้มุ่งโพธิญาณย่อมมิหวั่นไหวต่ออุปสรรค
๔. ชีวิตเป็นอนิจจัง อย่าจริงจังจนเกินไปนัก
๓. เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ผู้มุ่งโพธิญาณย่อมมิหวั่นไหวต่ออุปสรรค
๔. ชีวิตเป็นอนิจจัง อย่าจริงจังจนเกินไปนัก
๕. โทษของความเป็นหม้ายในสมัยก่อน คือ ถูกสังคมดูหมิ่นเหยียดหยาม
ข้อคิดในกัณฑ์วนประเวศน์
๑. ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นกาลเวลาที่ควรจะได้รับความเห็นใจเหลียวแลช่วยเหลือจากญาติมิตรหรือเพื่อนร่วมโลก
๒. ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามยาก ประคองในคราวลำบาก อุ้มชูในยามตกต่ำ ช่วยค้ำในยามทรุด
๓. น้ำใจของคนดี หากรู้ว่าความสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้เพราะการเสียสละของตนก็ยินดีที่จะสละ
โอกาสและโชคลาภอันพึงได้ให้ด้วยความเต็มใจ
โอกาสและโชคลาภอันพึงได้ให้ด้วยความเต็มใจ
ข้อคิดในกัณฑ์ชูชก
๑. บุรุษจะบรรลุความสำเร็จอันสูงสุดได้ เมื่อไม่หลงในอำนาจของสตรี
๒. สามีแก่ทุกข์ใจเพราะได้ภรรยาสาว
๓. ความรู้เป็นพิษเพราะไม่ใช้อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่
ข้อคิดในกัณฑ์จุลพน
๑. มีอำนาจหากขาดสติปัญญาไตร่ตรองย่อมถูกหลอกได้ง่าย
๒. คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด แต่ความโง่ถ้าไม่เบียดเบียนใคร ย่อมดีกว่าความฉลาดที่เอาเปรียบคนอื่น
๓. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตนเอง
๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติหย่อนปฏิบัติตนก็พลาดท่าเสียทีได้ง่าย
๒. คนคดมักพูดหวาน คนพาลมักพูดเพราะ ต้องวิเคราะห์วินิจฉัยให้ถ้วนถี่
๓. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย
๔. บางครั้งความสงสารอาจนำมาซึ่งความฉิบหาย หากเชื่อง่ายอาจนำมาซึ่งความทุกข์
ข้อคิดในกัณฑ์กุมาร
๑. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกันแต่เป็นห่วงไม่เหมือนกัน โดยห่วงหญิงมากกว่าชายเพราะหญิงปกป้องตัว
เองมากกว่า
๒. วิสัยของผู้หญิงนั้น แม้จะมากด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น แต่ไม่มีวันจะสละ
ลูกในไส้ให้แก่ผู้ใดได้
๓. การเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ เป็นบันไดสู่ความสมหวัง
๔. ทานอันยิ่งบัณฑิตย่อมสรรเสริญ แต่ปุถุชนมักติเตียน
เองมากกว่า
๒. วิสัยของผู้หญิงนั้น แม้จะมากด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น แต่ไม่มีวันจะสละ
ลูกในไส้ให้แก่ผู้ใดได้
๓. การเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ เป็นบันไดสู่ความสมหวัง
๔. ทานอันยิ่งบัณฑิตย่อมสรรเสริญ แต่ปุถุชนมักติเตียน
ข้อคิดในกัณฑ์มัทรี
๑. “รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้”
๒. ลูกดีชื่นใจพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ
๓. ลูกกตัญญู ชาวโลกอนุโมทนา เทวดาชื่นชม พรหมก็สรรเสริญ
ข้อคิดในกัณฑ์สักบรรพ
๑. การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทวดาย่อมเห็น
๒. “อยากได้ดีไม่ทำดีนั้นมีมาก ดีแต่อยากหากไม่ทำก็ขำหนอ อยากได้ดีต้องทำดีอย่ารีรอ ดีแต่ขอรอแต่ดีไม่ดีเอย”
๓. ภรรยาที่ดีพึงสนับสนุนกิจการของสามี
ข้อคิดในกัณฑ์มหาราช
๑. คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน
๑. คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน
๒. พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต พึงสละชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้อง คือธรรม
ข้อคิดในกัณฑ์ฉกษัตริย์
๑. จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจจากกันยามตายได้เห็นน้ำตา
๒. การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉาน สันติสุขย่อมเกิดแก่โลกและสังคม
๓. ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา และการรู้จักปรับปรุงแก้ไขเป็นวิสัย
ของบัณฑิต
๒. การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉาน สันติสุขย่อมเกิดแก่โลกและสังคม
๓. ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา และการรู้จักปรับปรุงแก้ไขเป็นวิสัย
ของบัณฑิต
ข้อคิดในนครกัณฑ์
๑. การใช้ธรรมะในการปกครองย่อมทำให้เกิดความสงบร่มเย็น