วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก <<
           
            ที่มาของเรื่อง 
สันนิษฐานว่า พบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาและถือว่าเป็นมหาเวสสันดรชาดกที่แปลแล้วนำมาแต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรกคือ มหาชาติคำหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระกรุณาโปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยแปลและเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ..๒๐๒๕ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตเรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ..๒๑๗๐ เรียกว่า กาพย์มหาชาติ แต่งแปลเป็นภาษาไทยใช้ฉันทลักษณ์เดียวคือ ร่ายยาว เพื่อใช้สำหรับเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาได้ฟังกัน

           เนื้อเรื่องย่อ

   กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร มี ๑๙ พระคาถา   
 กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร
กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์ พระอินทร์จึงประทานพร ๑๐ ประการให้พระนางผุสดี ได้แก่ ๑) ขอให้เกิดในกรุงมัทราชแคว้นสีพี ๒) ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย ๓) ขอให้คิ้วคมขำดังสร้อยคอนกยูง ๔) ขอให้ได้นามตามภพเดิมว่าผุสดี ๕) ขอให้มีพระโอรสที่เกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป ๖) ขอให้พระครรภ์งามไม่ป่องนูนตามสตรีสามัญ ๗) ขอให้มีพระถันเปล่งปลังงดงามไม่ยานคล้อยลง ๘) ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ ๙) ขอให้มีผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ   ๑๐) ขอให้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้


กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ มี ๑๓๔ พระคาถา   
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราชและได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี ต่อมาได้ประสูติพระเวสสันดร ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์ จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้น ให้มีนามว่าปัจจัยนาค มีคุณวิเศษคือทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พระเวสสันดรใฝ่ใจการบริจาคทานจึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้กับชาวเมืองกลิงคราษฏร์ ซึ่งเป็นเมืองแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพงมาหลายปี ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดร พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง


            กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ มี ๒๐๙ พระคาถา   
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสีทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐


กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ มี ๕๗ พระคาถา   

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์
เมื่อเดินทางถึงนครเจตราช ทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราช จึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกต ได้พบศาลาอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรม                                                   
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก มี ๗๙ พระคาถา   
กัณฑ์ที่ ๕  ชูชก
มีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า

   กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน มี ๓๕ พระคาถา   


กัณฑ์ที่ ๖  จุลพน
พรานเจตบุตรหลงกลชูชก ที่ได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตร อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร พรานเจตบุตรจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี

            กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล มี ๘๐ พระคาถา   


กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจุตฤๅษี พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร

  กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร มี ๑๐๑ พระคาถา   
กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร
              ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร พระเวสสันดรพระราชทานให้ สองกุมารรู้ความจึงหนีไปอยู่ในสระบัว พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดย  เร่งรีบด้วยเกรงว่าหากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ

กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี มี ๙๐ พระคาถา  
กัณฑ์ที่ ๙  มัทรี

พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจจึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัย ลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา

กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ มี ๔๓ พระคาถา    
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ
พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก ด้วยไม่มีผู้คอยปรนนิบัติ ดังนั้นพระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย 

            กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช มี ๖๙ พระคาถา 
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมารจนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ มี ๓๖ พระคาถา
กัณฑ์ที่ ๑๒  ฉกษัตริย์ 
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก

            กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ มี ๔๘ พระคาถา    
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์
หกกษัตริย์ยกพลกลับคืนพระนคร พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง


ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ



ข้อคิดที่ได้รับ

ข้อคิดในกัณฑ์ทศพร

            
    การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์นั้น  ตั้งกัลยาณจิตอธิษฐาน เป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ และความ

ปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์มีศีลห้าเป็นต้น กล่าวคือ 

                ต้องกระทำความดี

                ๒ต้องรักษาความดีนั้นไว้

                ๓.
 หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น
           
ข้อคิดในกัณฑ์หิมพานต์

             
   . คนดีเกิดที่ไหนไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ทำดีหรือเปล่า   


                การเสียสละแบ่งปันเป็นหัวใจของการสร้างสรรค์สังคม


                การทำดีบางครั้งอาจมีอุปสรรค

                ความเห็นแก่ตัว เป็นภัยอันยิ่งใหญ่ของการอยู่ร่วมกัน

                การเลือกคู่ครองที่ดีให้ดูมัทรีเป็นแบบอย่าง ไม่หลงระเริงในยามสุข ไม่ละเลยคู่ทุกข์ในยามยาก

 ข้อคิดในทานกัณฑ์

ยามมีเขายก ยามหมดเขาหยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขมขื่น     

ความรักของแม่ความห่วงใยของเมีย ยิ่งใหญ่กว่ารักและห่วงใยของใครๆ ในโลก

เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ผู้มุ่งโพธิญาณย่อมมิหวั่นไหวต่ออุปสรรค


ชีวิตเป็นอนิจจัง อย่าจริงจังจนเกินไปนัก


              โทษของความเป็นหม้ายในสมัยก่อน คือ ถูกสังคมดูหมิ่นเหยียดหยาม

ข้อคิดในกัณฑ์วนประเวศน์

 ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นกาลเวลาที่ควรจะได้รับความเห็นใจเหลียวแลช่วยเหลือจากญาติมิตรหรือเพื่อนร่วมโลก

                ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามยาก ประคองในคราวลำบาก อุ้มชูในยามตกต่ำ ช่วยค้ำในยามทรุด

                น้ำใจของคนดี หากรู้ว่าความสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้เพราะการเสียสละของตนก็ยินดีที่จะสละ

โอกาสและโชคลาภอันพึงได้ให้ด้วยความเต็มใจ

 ข้อคิดในกัณฑ์ชูชก

                
บุรุษจะบรรลุความสำเร็จอันสูงสุดได้   เมื่อไม่หลงในอำนาจของสตรี
               
                ๒
. สามีแก่ทุกข์ใจเพราะได้ภรรยาสาว


                ๓ความรู้เป็นพิษเพราะไม่ใช้อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่


ข้อคิดในกัณฑ์จุลพน

                ๑
มีอำนาจหากขาดสติปัญญาไตร่ตรองย่อมถูกหลอกได้ง่าย

                ๒คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด แต่ความโง่ถ้าไม่เบียดเบียนใคร ย่อมดีกว่าความฉลาดที่เอาเปรียบคนอื่น
                ๓ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตนเอง

ข้อคิดในกัณฑ์มหาพน

               
 ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติหย่อนปฏิบัติตนก็พลาดท่าเสียทีได้ง่าย

                คนคดมักพูดหวาน คนพาลมักพูดเพราะ ต้องวิเคราะห์วินิจฉัยให้ถ้วนถี่

                คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย

                บางครั้งความสงสารอาจนำมาซึ่งความฉิบหาย หากเชื่อง่ายอาจนำมาซึ่งความทุกข์
 ข้อคิดในกัณฑ์กุมาร

                พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกันแต่เป็นห่วงไม่เหมือนกัน โดยห่วงหญิงมากกว่าชายเพราะหญิงปกป้องตัว

เองมากกว่า 

                วิสัยของผู้หญิงนั้น แม้จะมากด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น แต่ไม่มีวันจะสละ

ลูกในไส้ให้แก่ผู้ใดได้


                การเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ เป็นบันไดสู่ความสมหวัง


                ทานอันยิ่งบัณฑิตย่อมสรรเสริญ แต่ปุถุชนมักติเตียน

 
ข้อคิดในกัณฑ์มัทรี


                . “รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้

                ลูกดีชื่นใจพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ

                ลูกกตัญญู ชาวโลกอนุโมทนา เทวดาชื่นชม พรหมก็สรรเสริญ

 ข้อคิดในกัณฑ์สักบรรพ

                การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทวดาย่อมเห็น

                . “อยากได้ดีไม่ทำดีนั้นมีมาก ดีแต่อยากหากไม่ทำก็ขำหนอ อยากได้ดีต้องทำดีอย่ารีรอ ดีแต่ขอรอแต่ดีไม่ดีเอย

                ภรรยาที่ดีพึงสนับสนุนกิจการของสามี

 ข้อคิดในกัณฑ์มหาราช
           
   คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน

                พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต พึงสละชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้อง คือธรรม

ข้อคิดในกัณฑ์ฉกษัตริย์


                จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจจากกันยามตายได้เห็นน้ำตา

                การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉาน สันติสุขย่อมเกิดแก่โลกและสังคม


                ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา และการรู้จักปรับปรุงแก้ไขเป็นวิสัย

ของบัณฑิต

ข้อคิดในนครกัณฑ์


๑. การใช้ธรรมะในการปกครองย่อมทำให้เกิดความสงบร่มเย็น

>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 มงคงสูตรคำฉันท์ <<

  

ความเป็นมา
    เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์ โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง...อ่านเพิ่มเติม
>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี <<


ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...อ่านเพิ่มเติม
>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หัวใจชายหนุ่ม <<



ความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน... อ่านเพิ่่มเติม
>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 นิราศนรินทร์คำโคลง <<



ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา... อ่านเพิ่มเติม
>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นิทานเวตาล เรื่องที่ 10 <<




ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง... อ่านเพิ่มเติม
>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง <<



 อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้...อ่านเพิ่มเติม




>> หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 คำนมัสการคุณานุคุณ <<



          คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม...อ่านเพิ่มเติม